Search

พิสูจน์แบคทีเรียรวมตัวกันก็อยู่ได้ในอวกาศ - ไทยรัฐ

spaceshubble.blogspot.com

ลองนึกว่าแบคทีเรียเดินทางผ่านอวกาศและลงมาอยู่บนดาวเคราะห์ และเมื่อพบสภาวะที่เหมาะสมต่อการอยู่รอด มันก็เริ่มขยายเผ่าพันธุ์เพิ่มทวีคูณ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ตั้งทฤษฎีแพนสเปอร์เมีย (panspermia) ที่สนับสนุนความเป็นไปได้ว่าจุลินทรีย์อาจอพยพไปมาระหว่าง ดาวเคราะห์และกระจายชีวิตไปในจักรวาล

เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีนี้ ใน พ.ศ.2561 มีนักวิทยาศาสตร์ด้านเภสัชศาสตร์และชีววิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ในญี่ปุ่น ทดสอบการมีอยู่ของจุลินทรีย์ในชั้นบรรยากาศโดยใช้เครื่องบินและบอลลูนวิทยาศาสตร์ ตรวจพบแบคทีเรียสกุลไดโนคอคคัส (Deinococcus) ลอยอยู่เหนือพื้นโลก 12 กิโลเมตร นักวิทยาศาสตร์รู้ว่าไดโนคอคคัสมักก่อตัวเป็นกลุ่มขนาดใหญ่กว่า 1 มิลลิเมตร แถมทนต่อความรุนแรงจากรังสีอัลตราไวโอเลต ทีมวิจัยเผยว่าทดลองวางมวลรวมของไดโนคอคคัสที่แห้งแล้วในแผงรับแสงภายนอกสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) โดยแบคทีเรียที่ใช้ทดสอบจะมีความหนาต่างกัน พวกมันได้สัมผัสกับสภาพแวดล้อมในอวกาศเป็นเวลา 1-2 หรือ 3 ปี เพื่อเฝ้าดูการอยู่รอด

ผ่านไป 3 ปีนักวิจัยพบว่ามวลรวมทั้งหมดของแบคทีเรียที่สูงกว่า 0.5 มิลลิเมตร บางส่วนรอดชีวิตในอวกาศ และเห็นว่าแบคทีเรียตรงพื้นผิวที่ตายไป ได้สร้างชั้นป้องกันให้กับแบคทีเรียที่อยู่ข้างใต้เพื่อให้อยู่รอด เป็นไปได้ว่าพวกมันจะรอดชีวิตได้นาน 15-45 ปีบนสถานีอวกาศนานาชาติ การทดลองนี้ช่วยให้นักวิจัยคาดการณ์ได้ว่ากลุ่มแบคทีเรียที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตรน่าจะอยู่รอดได้นานถึง 8 ปีในสภาวะนอกโลก.

อ่านเพิ่มเติม...




September 11, 2020 at 08:01AM
https://ift.tt/33b5TRq

พิสูจน์แบคทีเรียรวมตัวกันก็อยู่ได้ในอวกาศ - ไทยรัฐ

https://ift.tt/2Yzw6an


Bagikan Berita Ini

0 Response to "พิสูจน์แบคทีเรียรวมตัวกันก็อยู่ได้ในอวกาศ - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.