Search

18-23 ก.ค.นี้ "ดาวหางนีโอไวส์ใกล้โลกที่สุด" ในรอบเกือบ 6,800 ปี - ข่าวไทยพีบีเอส

spaceshubble.blogspot.com

คนไทยเตรียมตัวชมดาวหางนีโอไวส์ ช่วง 18-23 ก.ค.นี้ เนื่องจากโคจรออกห่างจากดวงอาทิตย์และกำลังเข้าใกล้โลก พบสว่างมากพอที่จะสังเกตได้ด้วยตาเปล่า โดยปรากฏในช่วงค่ำทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกจนถึงประมาณ 21.00 น.

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาดาวหางนีโอไวส์ หรือ C/2020 F3 (NEOWISE) ได้รับความสนใจจากนักดาราศาสตร์และผู้คนบนโลก เนื่องจากปรากฏสว่างเหนือน่านฟ้าหลายประเทศ ต่างพากันติดตามและบันทึกภาพดาวหางดังกล่าวเผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก

Photo: NARIT

Photo: NARIT

ดาวหางนีโอไวส์ หรือ C/2020 F3 (NEOWISE) เป็นดาวหางคาบยาว โคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลาประมาณ 6,767 ปี ค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศไวส์ (Wide-field Infrared Survey Explorer : WISE) ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์ในช่วงคลื่นอินฟราเรดของโครงการสำรวจประชากรดาวเคราะห์น้อยและวัตถุใกล้โลก ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 63

ตามที่นักดาราศาสตร์ได้คำนวณค่าอันดับความสว่างปรากฏของดาวหางนีโอไวส์ ขณะนี้ได้ผ่านช่วงสว่างมากที่สุดไปแล้ว แต่จากการสังเกตการณ์จริงพบว่าความสว่างไม่ได้ลดลงดังเช่นที่คำนวณไว้ จึงส่งผลดีต่อผู้สังเกตบนโลกที่จะยังคงมองเห็นดาวหางปรากฏสว่าง

ในไทยเห็นดาวหางนีโอไวส์ชัดสุดช่วงวันที่ 21 ก.ค.

Photo: NARIT

Photo: NARIT

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค. 63 เป็นต้นไป จะดาวหางนีโอไวส์จะเปลี่ยนมาปรากฏในช่วงหัวค่ำ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และความสว่างจะลดลงเรื่อย ๆ แต่ยังคงสว่างในระดับที่ยังสามารถสังเกตการณ์ได้ด้วยตาเปล่า จึงเป็นโอกาสดีที่คนไทยจะได้ยลโฉมและบันทึกภาพความสวยงามของดาวหางดวงนี้ หากฟ้าใสไร้เมฆ 

ส่วนช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการสังเกตการณ์ดาวหางนีโอไวส์ที่ดีสุด คือช่วงวันที่ 18-22 ก.ค. 63 เนื่องจากดาวหางเคลื่อนที่ห่างจากดวงอาทิตย์พอสมควรแล้ว และคาดว่าจะมีค่าอันดับความสว่างปรากฏประมาณ 5 แม้เป็นช่วงแสงสนธยาก็มีโอกาสที่จะมองเห็นดาวหางดวงนี้ได้ด้วยตาเปล่า

หากท้องฟ้าบริเวณขอบฟ้าโปร่งใสชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ 21 ก.ค. 63 เป็นคืนเดือนมืดไร้แสงจันทร์รบกวน เป็นโอกาสเหมาะที่จะเฝ้าสังเกตการณ์ดาวหางนีโอไวส์ด้วยตาเปล่า 

Photo: NARIT

Photo: NARIT

ส่วนวันที่ 23 ก.ค. 63 แม้เป็นช่วงที่ดาวหางเข้าใกล้โลกที่สุด ที่ระยะห่าง 103 ล้านกิโลเมตร แต่จากข้อมูลพบว่าดาวหางจะมีค่าค่าความสว่างลดลง รวมทั้งในคืนดังกล่าวตรงกับคืนดวงจันทร์ขึ้น 2 ค่ำ อาจมีแสงจันทร์รบกวนเล็กน้อย ทั้งนี้ ประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูฝนที่มีเมฆมาก บริเวณใกล้ขอบฟ้ามีเมฆปกคลุมค่อนข้างหนา จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการสังเกตการณ์ดาวหางดังกล่าว และหลังจากนั้นความสว่างจะลดลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ 

ลำดับไทม์ไลน์ที่น่าสนใจของดาวหางนีโอไวส์

Photo: NARIT

Photo: NARIT

  • 27 มี.ค. 63 - ถูกค้นพบโดย โครงการสำรวจประชากรดาวเคราะห์น้อยและวัตถุใกล้โลก
  • 3 ก.ค. 63 - เคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ที่ระยะห่าง 43 ล้านกิโลเมตร
  • ช่วงครึ่งแรกของ ก.ค. 63 - ประเทศไทยจะได้เห็นดาวหางนีโอไวส์ปรากฏในช่วงรุ่งเช้า ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ตำแหน่งใกล้ขอบฟ้ามาก โดยเพิ่งโคจรผ่านจุดที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด จึงถูกแสงอาทิตย์กลบ สังเกตได้ค่อนข้างยาก
  • 13 ก.ค. 63 - Planetary Science Institute's Input/Output Facility พบว่า ดาวหางนีโอไวส์ปรากฏหางฝุ่นและหางไอออนแยกออกจากกันอย่างชัดเจน สำหรับหางไอออนนั้นพบว่าเป็นหางโซเดียม จะสามารถสังเกตเห็นเฉพาะดาวหางที่สว่างมากๆ เท่านั้น ดังเช่น ดาวหางเฮล-บอปป์ (Hale–Bopp) และ ดาวหางไอซอน (ISON) และจากการศึกษาในย่านรังสีอินฟราเรดพบว่านิวเคลียสของดาวหาง มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 กิโลเมตร มีขนาดใกล้เคียงกับดาวหางสว่างในอดีตอย่าง ดาวหางเฮียกูตาเกะ (Hyakutake) และดาวหางคาบสั้นอื่นๆ อีกหลายดวง
  • 23 ก.ค. 63 - เคลื่อนที่เข้าใกล้โลกที่สุด ที่ระยะห่าง 103 ล้านกิโลเมตร

--------------------------

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ #ThaiPBS
ติดตาม #ThaiPBSSciAndTech ได้ที่
Facebook: Thai PBS Sci & Tech
Twitter: @ThaiPBSSciTech




July 20, 2020 at 02:05AM
https://ift.tt/3eIB3Dy

18-23 ก.ค.นี้ "ดาวหางนีโอไวส์ใกล้โลกที่สุด" ในรอบเกือบ 6,800 ปี - ข่าวไทยพีบีเอส

https://ift.tt/2Yzw6an


Bagikan Berita Ini

0 Response to "18-23 ก.ค.นี้ "ดาวหางนีโอไวส์ใกล้โลกที่สุด" ในรอบเกือบ 6,800 ปี - ข่าวไทยพีบีเอส"

Post a Comment

Powered by Blogger.